แบตเตอรี่สำหรับพลังงานทดแทน
แบตเตอรี่ เป็นอุปกรณ์มีหน้าที่กักเก็บประจุไฟฟ้า
และจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
แบตเตอรี่ปฐมภูมิ (Primary Battery) |
แบตเตอรี่ปฐมภูมิ (Primary Battery)
แบตเตอรี่ที่ทำการชาร์จใหม่ไม่ได้ จึงต้องชาร์จจนเต็มมาจากโรงงาน
เช่น แบตเตอรี่นาฬิกา แบตเตอรี่ไฟฉาย ซึ่งเมื่อใช้ไฟในแบตเตอรี่จนหมดจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก
แบตเตอรี่ทุติยภูมิ (Secondary Battery) |
แบตเตอรี่ทุติยภูมิ (Secondary Battery)
แบตเตอรี่ที่ทำการชาร์จใหม่ได้
เมื่อแบตเตอรี่มีไฟที่อ่อนลง เช่นแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่มือถือ
หรือแบตเตอรี่โซล่าเซลล์
ระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์
จะใช้แบตเตอรี่แบบทุติยภูมิ ซึ่งสามารถชาร์จประจุไฟฟ้าได้ใหม่
เมื่อแบตเตอรี่มีกำลังไฟที่อ่อนลงหรือพลังงานไฟฟ้าลดลง
แบตเตอรี่จะเก็บพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ เข้ามาเก็บไว้
แล้วปล่อยกำลังไฟฟ้าออกไปให้กับโหลด โดยกระแสไฟฟี่อกไปนั้นเป็นไฟฟ้ากระแสตรง
สามารถจ่ายไฟฟ้าในเวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ ในช่วงเวลากลางคืน หรือเมฆครึ้มตลอดวันแทนไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้
การชาร์จแบตเตอรี่ของระบบการผลิตไฟฟ้าโซล่าเซลล์
จะผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ แล้วจ่ายให้เครื่องควบคุมการชาร์จก่อน เพื่อปรับแรงดันไฟฟาให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่ก่อนจะไหลไปเก็บแบตเตอรี่
แบตเตอรี่มีหลายชนิด เช่น ลีดเอซิด (Lead-Acid Battery), อัลคาไลน์
(Alkaline), นิคเกิลแคดเมียม (Nickel-cadmium) แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือ แบตเตอรี่ลีดเอซิด เพราะมีอายุการใช้งานนาน
และมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าที่สูง ส่วนโหลดสามารถใช้กับที่เป็นโหลดไฟฟ้ากระแสตรงได้เลย
หรือแต่ถ้าต้องการใช้งานกับโหลดไฟฟ้ากระแสสลับ จะต้องต่อผ่านอินเวอร์เตอร์ก่อน
เพื่อให้อินเวอ์เตอร์แปลงไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ
โครงสร้างของแบตเตอรี่ แบบลีดเอซิด(Lead-Acid Battery)
ภายในลีดเอซิดแบตเตอรี่
จะประกอบด้วยเซลล์อยู่ภายใน โดยต่อกันแบบอนุกรม จำนวนเซลล์ จะขึ้นอยู่กับการออกแบบแบตเตอรี่นั้นๆ
ว่าให้มีค่าแรงดันใช้งานที่เท่าไร โดยทั่วไปหนึ่งเซลล์จะมีแรงดันประมาณ 2 โวลท์ ดังนั้นถ้าให้จ่ายไฟ 12
โวลท์ จะมีแผงภายในจำนวน 6 เซลล์
ต่ออนุกรมกันอยู่
การปล่อยประจุไฟฟ้าของแบตเตอรี่ จะแบ่งออกเป็นสองแบบด้วยกัน ดังนี้
Shallow-Cycle Battery
เป็นแบตเตอรี่แบบรถยนต์ สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าได้น้อย ประมาณ 10-20 % ของประจุไฟฟ้าทั้งหมด ก่อนจะทำการชาร์จประจุใหม่ การปล่อยประจุไฟฟ้า จะมีหน่วยเป็นแอมอาวด์ (Ahr) หมายถึง ปริมาณการปล่อยประจุกระแสไฟฟ้าใน 1 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริง จะไม่สามารถปล่อยประจุจากแบตเตอรี่จนหมดได้ เช่น หากมีแบตเตอรี่ ขนาด 100 แอมอาวด์ แบตเตอรี่นี้จะปล่อยประจุไฟฟ้า ได้เพียง 10-20 แอมอาวด์ หลังจากนั้นจะต้องทำการชาร์จประจุให้เต็ม ก่อนการคลายประจุครั้งต่อไป ถ้าการปล่อยประจุมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ จะทำให้แบตเตอรี่ มีอายุการที่ใช้งานได้ไม่นาน
เป็นแบตเตอรี่แบบรถยนต์ สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าได้น้อย ประมาณ 10-20 % ของประจุไฟฟ้าทั้งหมด ก่อนจะทำการชาร์จประจุใหม่ การปล่อยประจุไฟฟ้า จะมีหน่วยเป็นแอมอาวด์ (Ahr) หมายถึง ปริมาณการปล่อยประจุกระแสไฟฟ้าใน 1 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริง จะไม่สามารถปล่อยประจุจากแบตเตอรี่จนหมดได้ เช่น หากมีแบตเตอรี่ ขนาด 100 แอมอาวด์ แบตเตอรี่นี้จะปล่อยประจุไฟฟ้า ได้เพียง 10-20 แอมอาวด์ หลังจากนั้นจะต้องทำการชาร์จประจุให้เต็ม ก่อนการคลายประจุครั้งต่อไป ถ้าการปล่อยประจุมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ จะทำให้แบตเตอรี่ มีอายุการที่ใช้งานได้ไม่นาน
Deep-Cycle Battery |
Deep-Cycle Battery
แบตเตอรี่ที่ออกแบบมา ให้สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าได้มาก ประมาณ 60-80 %ของประจุไฟฟ้าทั้งหมด ก่อนจะทำการชาร์จประจุใหม่ ส่วนใหญ่จะนำมาใช้กับระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย แบตเตอรี่ชนิดนี้ จะมีราคาที่สูงกว่าแบบแรกมาก แต่ใช้เพียงไม่กี่ตัว ก็สามารถทดแทนประจุไฟฟ้ารวม จากแบตเตอรี่แบบแรกได้ แบตเตอรี่แบบนี้จึงมีความคุ้มค่าในระยะยาว
แบตเตอรี่ที่ออกแบบมา ให้สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าได้มาก ประมาณ 60-80 %ของประจุไฟฟ้าทั้งหมด ก่อนจะทำการชาร์จประจุใหม่ ส่วนใหญ่จะนำมาใช้กับระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย แบตเตอรี่ชนิดนี้ จะมีราคาที่สูงกว่าแบบแรกมาก แต่ใช้เพียงไม่กี่ตัว ก็สามารถทดแทนประจุไฟฟ้ารวม จากแบตเตอรี่แบบแรกได้ แบตเตอรี่แบบนี้จึงมีความคุ้มค่าในระยะยาว
การใช้แบตเตอรี่รถยนต์
แทนแบตเตอรี่ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ แบบ Deep-Cycle สามารถใช้ได้
หากอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้กระแสไฟไม่มาก แต่ต้องคำนวนให้ดีว่า ไม่ควรที่จะปล่อยกระแสไฟออกจากแบตเตอรี่มากเกินไป
เพราะถ้าปล่อยกระแสไฟ ออกจากแบตเตอรี่มากเกินไป จะทำให้แบตเตอรี่เสียเร็ว
อีกอย่าง แบตเตอรี่รถยนต์
มีอายุการใช้งานประมาณ 2 ปี แต่ถ้าเป็นแบตเตอรี่ Deep-Cycle ที่สามารถปล่อยประจุไฟฟ้าได้มาก จะมีอายุการใช้งาน 4-5 ปี ถ้าใช้งานกับระบบโซลาร์เซลล์แล้ว แบตเตอรี่แบบ Deep-Cycle มีความคุ้มค่ามากกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น