พลังงานทดแทน
พลังงานทดแทนคืออะไร ?
“พลังงานทดแทน” หรือ
“พลังงานทางเลือก” คือพลังงานที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
และสามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัด
ตามแผนพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
15 ปี ระหว่าง 2555-2564 มีแผนที่จะให้มีการใช้พลังงานทดแทนเป็นสัดส่วน
20% ของพลังงานทั้งหมด
การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต
ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด
ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น
พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต
และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค
เศรษฐกิจ และสังคม
พลังงานทดแทน |
พลังงานทดแทนมีอะไรบ้าง ?
พลังงานจำแนกออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน โดยแบ่งตามลักษณะปริมาณการใช้งานของพลังงานได้ดังต่อไปนี้
1. พลังงานทดแทนที่ใช้แล้วหมดไป ได้แก่ ถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ น้ำมัน
2. พลังงานหมุนเวียน (Renewal Energy) เป็นแหล่งพลังงานตามธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
ตัวอย่างของ พลังงานทดแทน หรือ พลังงานทางเลือก ที่สำคัญ
เช่น
- พลังงานลม เช่น การใช้กังหันลมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
- พลังงานน้ำ เช่น การใช้พลังงานศักย์ของน้ำในเขื่อนหมุนไดนาโมเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
- พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น การผลิตไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซลาร์เซลล์
- พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง
- พลังงานความร้อนจากใต้พิภพ
- เชื้อเพลิงชีวภาพ
- พลังงานชีวมวล
ซึ่งพลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
เนื่องจากเป็นพลังงานที่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้
ทั้งยังช่วยลดปัญหามลพิษอีกด้วย
พลังงานทดแทนจากกังหันลม |
ประโยชน์ของพลังงานทดแทน
โดยในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกพยายามศึกษาและค้นหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ และมีประสิทธิภาพดียิ่งกว่าพลังงานแบบเดิม เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมของโลก รวมทั้งช่วยประหยัดพลังงาน
ดังนั้นพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือก
จึงเป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ทดแทนพลังงานแบบเดิมได้อย่างไม่จำกัด
ทั้งยังหาได้จากธรรมชาติและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน รวมทั้งลดมลพิษอีกด้วย
การใช้พลังงานทดแทนในไทย
ประเทศไทยมีพลังงานทางเลือกน้อยมาก หากทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลเริ่มขาดแคลน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการก่อสร้าง ดำเนินการ ดูแลรักษา และค่าเชื้อเพลิงของพลังงานทางเลือกที่อาจจะสูงกว่า แต่หากว่าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลหมดไปจริงๆ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอาจจะเป็นภาระที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ประเทศไทยมีพลังงานทางเลือกน้อยมาก หากทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลเริ่มขาดแคลน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการก่อสร้าง ดำเนินการ ดูแลรักษา และค่าเชื้อเพลิงของพลังงานทางเลือกที่อาจจะสูงกว่า แต่หากว่าพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลหมดไปจริงๆ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอาจจะเป็นภาระที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
การใช้พลังงานทดแทนในอนาคต |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น